[คำแนะนำเกี่ยวกับรถเข็นวีลแชร์] เผยเคล็ดลับ…เลือกรถเข็นวีลแชร์อย่างไรดี?

คำแนะนำในการเลือกรถเข็นวีลแชร์

รถเข็นวีลแชร์ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายกัน คุณควรระวังเมื่อเลือกรถเข็นวีลแชร์ผิด เพราะอาจทำให้ร่างกายของผู้ใช้งาน หรือผู้ปวยแย่ลงได้ การเลือกซื้อรถเข็นวีลแชร์ที่ถูกต้อง อันดับแรกคุณควรรู้จัก และทำความเข้าใจลักษณะ “ผู้ใช้งานรถเข็นวีลแชร์”ก่อนเสมอ โดยแบ่งประเภทผู้ใช้งานรถเข็นวีลแชร์ออกเป็นระดับดังนี้

ไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็นวีลแชร์: สามารถเดิน และวิ่งได้ปกติ

ระดับที่ 2: เดินบนพื้นไม่เรียบหรือขรุขระค่อนข้างลำบาก

ระดับที่ 3: เดินได้ไม่ปกติ ต้องมีอุปกรณ์ช่วยพยุงในการเดิน

ระดับที่ 4: เดินไม่ได้ แต่นั่งได้

ระดับที่ 5: นั่งได้ แต่จะเอียงด้านใดด้านหนึ่ง

อื่นๆ: รถเข็นวีลแชร์ที่มีลักษณะพิเศษ

 

ระดับที่ 2: เดินบนพื้นไม่เรียบหรือขรุขระค่อนข้างลำบาก

ถึงจุดนี้แล้ว จำป็นต้องใช้ไม้เท้าในการช่วยพยุงเวลาเดินให้มั่นคงยิ่งขึ้น หรือในบางครั้ง เด็ก หรือผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องสมรรถนะทางสมอง ใช้อุปกรณ์เหล่านี้เพื่อช่วยเหลือตัวเองในขณะเดิน เมื่อต้องออกไปข้างนอก ให้ผู้ใช้งานนั่งบนรถเข็นวีลแชร์แทนการเดิน เพื่อป้องกันการพลัดหลงระหว่างผู้ป่วย และผู้ดูแล

 

ระดับที่ 3: เดินได้ไม่ปกติ ต้องมีอุปกรณ์ช่วยพยุงในการเดิน

ไม่ว่าจะได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือผู้สูงอายุที่ร่างกายอ่อนแอ ต้องใช้รถเข็นวีลแชร์ธรรมดาทั่วไป เพื่อช่วยให้ได้รับความสะดวกในการเคลื่อนไหวอย่างปลอดภัย

สำหรับการใช้งานระยะสั้น ควรพิจารณาจากการยืมหรือเช่า รถเข็นวีลแชร์มีให้เลือกมากมาย แต่ที่ได้รับความนิยมมากในตลาดจะเป็นรถเข็นวีลแชร์น้ำหนักเบา หรือรถเข็นวีลแชร์ที่เหมาะสมกับร่างกายของผู้ใช้งาน

 

รถเข็นวีลแชร์ที่น้ำหนักเบา

หากคุณต้องการออกไปข้างนอกประจำ ขอแนะนำรถเข็นวีลแชร์ที่สามารถล็อคล้อได้ในขณะยืน โดยไม่จำเป็นต้องก้มลงทุกครั้งไปเพื่อล็อคล้อรถ

รถรุ่นน้ำหนักเบาพิเศษนั้น ไม่เพียงแต่สะดวกต่อการเดินทาง หรือการรักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ผู้ดูแลยังสามารถนำรถเข็นวีลแชร์ไปเก็บบริเวณท้ายรถยนต์ได้อย่างง่ายดาย และสะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ดูแลที่เป็นผู้หญิง หรือผู้สูงอายุ

รถเข็นวีลแชร์รุ่นที่แนะนำ: Ergo Lite

รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น Ergo Lite
รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น Ergo Lite

 

รถเข็นเบาะที่นั่งตัว S (ตามสรีระศาสตร์)

หากมีการนั่งรถเข็นวีลแชร์นานมากกว่า 30 นาทีต่อวัน ขอแนะนำรถเข็นวีลแชร์ที่ออกแบบตามสรีรีศาสตร์ เช่น เบาะนั่งตัว S ช่วยลดการกดทับ กระจายน้ำหนัก ทำให้เวลานั่งไม่เมื่อย แม้จะนั่งเป็นเวลานานก็ตาม ที่วางแขนทำจากวัสดุคุณภาพสูง และเบาะรองนั่งที่สามารถถอดซักได้ เป็นการออกแบบที่ใส่ใจทุกรายละเอียด สะดวกสบาย ท่องเที่ยว ความสุขที่เต็มรูปแบบ

รถเข็นวีลแชร์รุ่นที่แนะนำ: ซีรี่ส์ S-Ergo ทุกรุ่น

 

รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น S-Ergo 205
รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น S-Ergo 205

 

รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น S-Ergo 106
รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น S-Ergo 106

ระดับที่ 4: เดินไม่ได้ แต่นั่งได้

สิ่งสำคัญของผุ้ป่วย หรือผู้ใช้งานรถเข็นวีลแชร์ นอกจากความสะดวกของการขึ้นนั่งรถเข็นวีลแชร์ หรือเวลามีกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนย้ายออกจากรถเข็นวีลแชร์ เช่น การย้ายขึ้นเตียง การเข้าห้องน้ำย้ายไปยังชักโครก ย้ายตัวขึ้นนั่งบนรถเข็นวีลแชร์ และอื่นๆ

ไม่ว่าคุณต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่น หรือช่วยเหลือตนเอง คุณจะพบกับปัญหาและอุปสรรค ที่ไม่ได้รับความสะดวก เกะกะ คือที่วางแขน และที่พักเท้า ดังนั้นคุณควรเลือกรถเข็นวีลแชร์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้

 

รถเข็นวีลแชร์ที่เคลื่อนย้ายได้

รถเข็นวีลแชร์ที่เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบ่อยๆ รวมถึงไม่สามารถเข้านั่งจากด้านหน้าได้ จึงจำเป็นที่ต้องใช้รถเข็นวีลแชร์ที่สามารถเปิดที่วางแขนไปข้างหลังได้ และที่พักเท้าสามารถสวิงออกด้านข้างได้ หรือถอดออกได้ แต่ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ

ที่วางแแขนเปิดไปข้างหลังเพื่อสะดวกในการย้ายผู้ป่ยออกด้านข้าง และที่พักเท้าแบบถอดได้ ทำให้สามารถเข้าใกล้จุดที่จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้มากขึ้น เพิ่มความสะดวกสบายต่อการเคลื่อนย้าย และนอกจากนี้ ในการถอดที่พักเท้าออก ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ

รถเข็นวีลแชร์รุ่นที่แนะนำ:

รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น S-Ergo 125
รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น S-Ergo 125

 

รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น Ergo Lite 2
รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น Ergo Lite 2

 

 

รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น ECON 800
รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น ECON 800

 

 

รถเข็นวีลแชร์โซม่ารุ่น SOMA 215 (SM 250.5)
รถเข็นวีลแชร์โซม่ารุ่น SOMA 215 (SM-250.5)

 

ปัจจัยที่สอดคล้องต่อการเลือกรถเข็นวีลแชร์

สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือผู้ป่วยพักฟื้นที่มีความต้องการในการใช้รถเข็นวีลแชร์ ต้องพิจารณาถึงฟังก์ชั่นของรถเข็นวีลแชร์ที่แตกต่างกัน เช่น ระดับความลึกของเบาะนั่ง ระดับความสูงของพนักพิง และจุดศูนย์กลางแรงถ่วงของล้อ ฯลฯ เพื่อตอบสนองการทำงานทางกายภาพที่แตกต่างกัน

นอกเหนือจากการพิจารณาว่าเป็นรถเข็นวีลแชร์ที่เคลื่อนย้ายแล้ว หากต้องการปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้น ต้องได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบ เพื่อปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญมาก ไม่ต่างจากการเลือกรถเข็นวีลแชร์ คือความเชี่ยวชาญของผู้ผลิตสินค้า รวมถึงความชำนาญด้านการบริการหลังการขาย

 

รถเข็นวีลแชร์รุ่นที่แนะนำ:

  • รถเข็นวีลแชร์สำหรับการเคลื่อนย้ายแบบสั่งทำพิเศษ
  • รถเข็นวีลแชร์สำหรับการเคลื่อนย้ายแบบมาตรฐาน

 

รถเข็นวีลแชร์สำหรับทำกิจกรรม

ผู้ป่วย หรือผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์บางคน ไม่ค่อยได้ใช้งานขาของพวกเขามากนัก แต่แขนของพวกเขาใช้งานได้ปกติ สามารถควบคุมรถเข็นวีลแชร์ได้เป็นอย่างดี

เนื่องจากในแต่ละวัน ผู้ใช้งานต้องออกแรงในการเข็นค่อนข้างมาก จึงจำเป็นต้องเลือกรถเข็นวีลแชร์ที่มีน้ำหนักเบา โครงสร้างรถที่แข็งแรง เพื่อช่วยให้การเข็นมีประสิทธิภาพ

โดยทั่วไปแล้ว สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โครงรถแบบพับได้ และแบบคงที่ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่มีความต้องการขนย้าย หรือง่ายต่อการจัดเก็บ

 

รถเข็นวีลแชร์รุ่นที่แนะนำ:

รถเข็นวีลแชร์สำหรับทำกิจกรรม (KM-AT20)

 

ระดับที่ 5: นั่งได้ แต่จะเอียงด้านใดด้านหนึ่ง

เมื่อคนในครอบครัว หรือบุคคลอันเป็นที่รักอยู่ในระดับที่ 5 แน่นอนว่าจำเป็นที่จะต้องใช้รถเข็นวีลแชร์ที่มีพนักพิงหลังที่สูง เพื่อรองรับแผ่นหลัง โดยปกติรถเข็นวีลแชร์ทั่วไป พนักแผ่นหลังจะอยู่แค่ระดับไหล่เท่านั้น แต่รถเข็นที่พนักพิงสูงสามารถรองรับแผ่นหลังได้ และมีหมอนเสริมเพื่อรองรับน้ำหนักส่วนบนได้ดี ให้ความรู้สึกเหมือนนอนอยู่บนเก้าอี้นวดนั้นเอง ความต้องการของรถเข็นวีลแชรประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะมีฟังก์ชั่นให้เลือกเพื่อปรับเปลี่ยนท่าทาง ได้แก่ ปรับเอนไปข้างหลัง และปรับเอนนอนแบบ 2 in 1 ในรถเข็นวีลแชร์คันเดียว

 

รถเข็นวีลแชร์ปรับเอน (Tilt)

ในขณะที่มีการปรับเอนไปข้างหลัง ผู้นั่งจะได้รับการกระจายแรงกดทับที่สะโพกไปด้านหลัง ช่วยลดแรงกดทับส่วนใดส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ ในขณะปรับเอน จะทำให้กล้ามเนื้อได้รับการผ่อนคลาย ข้อต่อบริเวณสะโพก หรือหัวเข่าสามารถยืดออกได้โดยไม่เกิดการเกร็ง ทำให้รู้สึกผ่อนคลายยิ่งขึ้น

ฟังก์ชั่นในการปรับเอน มีความสำคัญต่อผู้ใช้ระหว่างรถเข็นวีลแชร์กับร่างกายของผู้นั่ง ซึ่งช่วยกระจายน้ำหนัก บรรเทาอาการแผลกดทับ เพราะสามารถเปลี่ยนท่านั่งได้ รวมถึงอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่คอยช่วยให้เกิดฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น โช๊คไฮโดรลิค และอุปกรณ์กันกระดก และอื่นๆ

ข้อควรระวัง

สำหรับผู้ที่มีการใช้สายสวนปัสสาวะ ควรระวังเวลาปรับเอน อาจทำให้มีแนวโน้มการไหลย้อนคืนของปัสสาวะได้

 

รถเข็นวีลแชร์ปรับเอนนอน (Recline)

ในขณะการปรับนอนจะช่วยกระจายแรงกดทับไปที่หลัง แทนที่แรงดันนั้นจะอยู่ที่ก้นอย่างเดียว ทำให้ผู้ป่วย หรือผู้ใช้งานรู้สึกผ่อนคลาย และช่วยยืดร่างกายได้

ในส่วนของผู้ดูแลนั้น จะทำให้ได้รับความสะดวกสบายในการเปลี่ยนผ้าอ้อม เปลี่ยนเสื้อผ้า ฯลฯ ให้ผู้ใช้งาน

ข้อควรระวัง 

การปรับเอนนอนไปข้างหลัง จะทำให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อของผู้ใช้งานได้ เพราะการปรับเอนที่เกิน 90 องศา เปรียบดังกระดูกเชิงกรานมีการขยายออก อาจทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง และกระตุกได้ และการรักษาระดับรถเข็นวีลแชร์กับผู้ใช้ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อหัวเข่า หรือขาที่ไม่สามารถขยับได้ ควรให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ

 

รถเข็นวีลแชร์ปรับเอน + เอนนอน (Tilt + Recline)

เมื่อทั้ง 2 ฟังก์ชั่นอยู่ในรถเข็นวีลแชร์คันเดียวกัน คือกระจายน้ำหนัก บรรเทาการเกิดแผลกดทับ อีกทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกของผู้ดูแลในการเปลี่ยนผ้าอ้อม เปลี่ยนเสื้อผ้า

ข้อควรระวัง 

ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ สะโพก หัวเข่า และกระดูกสันหลัง อาจไม่สามารถทนต่อการปรับระดับรถเข็นในแบบนอนราบได้

 

รถเข็นวีลแชร์รุ่นที่แนะนำ:

 

รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่าม่ารุ่น VIP 515
รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น VIP 515
รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น MVP 502
รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น MVP 502

 

รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น KM-5000
รถเข็นวีลแชร์คาร์ม่ารุ่น KM-5000

 

รถเข็นวีลแชร์แบบพิเศษ

นอกเหนือจากรถเข็นวีลแชร์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีรถเข็นวีลแชร์ที่ออกแบบตามความต้องการของผู้ใช้ และตามเงื่อนไขพิเศษ อาทิเช่น

  • รถเข็นวีลแชร์สำหรับคนอ้วน
  • รถเข็นวีลแชร์สำหรับเด็ก
  • รถเข็นวีลแชร์สำหรับใช้ในสนามบิน

 

รถเข็นวีลแชร์ที่สามารถปรับระดับความสูงได้

รถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าแบบปรับยืน

เป็นรถเข็นวีลแชร์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เฉกเช่นเดียวกับการตัดเสื้อผ้าให้สวมใส่กับผู้ใช้ได้พอดี รถเข็นวีลแชร์ทั่วไปไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ ด้วยรูปร่าง และตำแหน่งการนั่ง ต้องเป็นไปตามสัดส่วนของผู้ใช้ ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็น และสำคัญมากเพราะเป็นการออกแบบเพื่อใช้เฉพาะบุคคลเท่านั้น รถเข็นวีลแชร์ประเภทนี้ จึงต้องได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ และได้รับคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัดมืออาชีพ รถเข็นวีลแชร์ประเภทนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกา เพราะทวีปเหล่านี้มีการพัฒนาทางการแพทย์ที่สมบูรณ์ รถเข็นวีลแชร์ประเภทนี้ จึงยังเป็นที่ต้องการของตลาด และยังมีการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของผู้ใช้งานอยู่เสมอ

 

ติดตาม และรับข่าวสารอัพเดทกับทางคาร์ม่า โมบิลิตี้ร์ ได้ทาง 

Facebook: Karma Wheelchair Thailand   

Line OA: @karmamedicalthai

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า