“แผลกดทับไม่มาเยือน!” ทักษะการลดแรงกดทับที่ผู้นั่งรถเข็นวีลแชร์จำเป็นต้องมี

ผู้คนทั่วไปจะประสบปัญหา “แผลเปื่อย” หรือ “แผลกดทับ” ได้น้อย แต่สำหรับผู้ที่นั่งรถเข็น ผู้ที่นอนป่วยเป็นระยะเวลานาน หรือผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก เนื่องจากอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานทำให้ส่วนของร่างกายประสบกับแรงกดที่สูงมาก หลังจากที่ผิวหนังถูกกดทับเป็นเวลานานจะเกิดการบวมแดงหรือผื่นแดงซึ่งเกิดจากเซลล์ขาดออกซิเจนหรือเสียหาย เกิดเป็น “แผลกดทับ” (หรือแผลเปื่อย) โดยผิวหนังจะปรากฏเป็นบาดแผล ตุ่มน้ำหรือรอยแตก ซึ่งอาจทำให้เนื้อเยื่อตายได้ หากรุนแรงจะทำให้เกิดภาวะอาการไข้ขึ้นสูง โรคแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตอย่างภาวะโลหิตเป็นพิษได้ จึงไม่ควรประมาทเป็นอย่างยิ่ง

 

วีลแชร์ปรับเอน
รถเข็นวีลแชร์ปรับเอนที่จะช่วยให้แผลกดทับไม่มาเยือนคุณ ที่มา: Karma Wheelchair – TH

 

สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้องนั่งรถเข็นเป็นเวลานาน…

การลดแรงกดทับบนรถเข็นเป็นประจำเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ขอแนะนำให้ลดแรงกดทับเป็นเวลา 15 วินาทีในทุก 15 นาที หรือเป็นเวลา 30 วินาทีของทุก 30 นาที เพียงรู้ทักษะใหญ่ ๆ 3 ประการดังต่อไปนี้ ก็สามารถใช้อิริยาบถที่ถูกต้องในการลดแรงกดทับบนรถเข็น :

(1) ยันร่างกายขึ้น – โปรดอย่าลืมล็อคเบรครถเข็นก่อนแล้วค่อยคลายบริเวณกระดูกเชิงกรานออก ใช้สองมือค้ำยันที่พนักแขนทั้งสองด้านเพื่อยันร่างกายขึ้น

(2) เอนตัวไปด้านข้าง – หากต้องการลดแรงกดทับของบริเวณสะโพกด้านซ้าย ให้ย้ายจุดศูนย์ถ่วงไปยังด้านขวา ค้ำยันที่พนักแขนด้านขวาแล้วออกแรงกดลงด้านล่างเพื่อยันสะโพกด้านซ้ายขึ้น กลับไปยังท่านั่งเดิมแล้วทำซ้ำแบบขั้นตอนเดิมกับสะโพกอีกด้านหนึ่ง

(3) เอนตัวไปด้านหน้า – วิธีการหนึ่งคือเอนตัวไปด้านหน้านำหน้าอกชิดกับบริเวณหัวเข่า อีกวิธีการหนึ่งคือเอนตัวไปด้านหน้าแล้วขยับตัวไปถึงพื้นโต๊ะด้านหน้า

 

นอกจากการลดแรงกดทับด้วยตัวเองแล้ว ยังสามารถใช้รถเข็นที่มีพนักสูงที่ออกแบบพิเศษ…

อาศัยฟังก์ชั่นการเอนไปด้านหลังแบบกระดกกลางอากาศ (Tilt-in-Space) ในการเปลี่ยนแปลงท่าทางการนั่งและจุดศูนย์ถ่วง ช่วยลดแรงกดทับได้อย่างสะดวกง่ายดายมากยิ่งขึ้น รถเข็นพนักสูงสองประเภทที่มีประสิทธิภาพในการลดแรงกดทับได้อย่างชัดเจนที่สุด แนะนำตามลำดับดังต่อไปนี้คือ :

 

  1.  รถเข็นแบบเอนไปด้านหลัง (รถเข็นที่สามารถเอนหลังได้) (Recline) :

เปลี่ยนจากท่านั่งจนใกล้เคียงกับท่านอนหงาย ประโยชน์ของรถเข็นที่สามารถเอนหลังได้ข้อแรก คือ บรรเทาแรงกดทับบริเวณช่วงสะโพก ข้อสองคือ ระหว่างที่เปลี่ยนแปลงท่าทางสามารถช่วยให้ผู้นั่งยังสามารถได้พักผ่อนบ้าง รถเข็นพนักสูงรุ่นนี้ได้ออกแบบพิเศษโดยย้ายเพลาล้อหลังให้ไปด้านหลัง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการที่รถเข็นพลิกคว่ำไปทางด้านหลังที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเมื่อนอนหงายจะทำให้จุดศูนย์ถ่วงเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นการเพิ่มความมั่นคงให้แก่รถเข็นได้เป็นอย่างมาก

วีลแชร์คาร์ม่า MVP 502 ปรับเอนนอน
วีลแชร์ปรับเอนนอน คาร์ม่ารุ่น  MVP 502

 

  1.  รถเข็นแบบกระดกกลางอากาศ (Tilt-in-Space) :

ไม่เปลี่ยนแปลงมุมของร่างกายผู้นั่ง จะปรับเฉพาะที่นั่งทำให้ทั้งร่างกายเอนพนักไปด้านหลัง ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดของรถเข็นแบบกระดกกลางอากาศนี้กับแบบนอนหงาย คือ แบบนอนหงายจะเปลี่ยนแปลงท่าทางของทั้งร่างกาย โดยหลักการคือการปรับพนักพิงจนใกล้เคียงกับมุมของแนวนอน ส่วนรถเข็นแบบกระดกกลางอากาศจะไม่เปลี่ยนแปลงอิริยายทใด ๆ ของผู้นั่ง แต่เป็นการทำให้ระบบที่นั่งทั้งหมดเอนไปด้านหลังมีประสิทธิภาพในการช่วยลดแรงกดทับ

วีลแชร์ปรับเอนนอน คาร์ม่ารุ่น VIP 515
วีลแชร์ปรับเอนนอน คาร์ม่ารุ่น VIP 515

การปฏิบัติตามทักษะและวิธีการในการลดแรงกดทับด้วยตัวเอง ทำให้ผู้นั่งรถเข็นห่างไกลจากการคุกคามของแผลกดทับ การใช้รถเข็นแบบเข็นมือหรือรถเข็นไฟฟ้าซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงท่าทางของร่างกายเพื่อช่วยลดแรงกดทับได้อย่างเหมาะสม นอกจากสามารถช่วยลดแรงกดทับได้อย่างง่ายดายแล้ว ยังช่วยเพิ่มความสบายในการนั่ง ช่วยลดแรงกดทับได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีร่างกายที่แข็งแรงด้วยวิธีง่ายๆ

 

ติดตาม และรับข่าวสารอัพเดทกับทางคาร์ม่า โมบิลิตี้ร์ ได้ทาง 

Facebook: Karma Wheelchair Thailand   

Line OA: @karmamedicalthai

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า