“โรคหลอดเลือดสมอง” เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษา และออกจากโรงพยาบาลแล้ว ในลำดับถัดไปจะเป็นในส่วนของครอบครัวที่ช่วยกันดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ทางครอบครัวก็จะมองหาข้อมูลรถเข็นวีลแชร์ที่สามารถอำนวยความสะดวก มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับผู้ป่วย เพราะการเลือกรถเข็นวีลแชร์ จะมีผลต่อการฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยในภายหลัง
อย่างไรก็ตาม รถเข็นวีลแชร์ไม่ได้เหมาะกับผู้มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองทุกคนเสมอไป เนื่องจากอาการของแต่ละคน และการดำเนินชีวิตประจำวัน มีความแตกต่างกัน นักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้พิจารณา “การทำงานของร่างกายผู้ป่วย” โดยพิจารณาจาก…
ผู้ป่วยสามารถเดินได้ แต่ไม่ไกล
ผู้ป่วยโรคเลือดในสมอง ที่ได้รับผลกระทบไม่มากนัก เช่น ยังสามารถ นั่ง ยืน และเดินได้บ้าง แต่อาจจะช้าเพราะการควบคุมการเคลื่อนไหวไม่สมบูรณ์ และไม่คล่องตัว คุณสามารถเลือกรถเข็นวีลแชร์อลูมิเนียมน้ำหนักเบา เพื่อความสะดวกเวลาออกไปข้างนอก
รถเข็นวีลแชร์ล้อขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ส่วนรถเข็นวีลแชร์ล้อขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และพกพาได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องมีผู้ดูแลคอยช่วยเข็น
ในขณะเดียวกันอาจใช้ไม้พยุงเดิน 4 ขา แบบมีล้อ (โรเลเตอร์) หรือ เรียกว่ารถเข็นพยุงเดิน “ช้าแต่มั่นใจ ปลอดภัยไว้ก่อน”
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินได้ แต่นั่งได้
เมื่อผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตครึ่งตัว วัตถุประสงค์ของการรักษาคือ สามารถกลับมาเดินได้อีกครั้ง ดังนั้นการเลือกรถเข็นวีลแชร์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ นั่นคือสามารถถอดที่วางแขนและที่พักเท้า เพื่อออกกำลังกายสำหรับฟื้นฟูกล้ามเนื้อส่วนที่อ่อนแรง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มพื้นที่ให้ผู้ป่วยใช้เท้าข้างที่แข็งแรงดันรถเข็นวีลแชร์ให้เคลื่อนที่ และใช้มือข้างที่แข็งแรงดันรถเข็นวีลแชร์ให้หมุนได้
นอกจากชิ้นส่วนที่ถอดออกได้แล้ว อย่าลืมฟังก์ชั่นสำคัญอีก 2 ฟังก์ชั่น ได้แก่
- ที่พักเท้าสวิงไปด้านข้างได้ จะช่วยผ่อนแรงผู้ดูแล โดยเมื่อทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังอีกทีหนึ่ง เพียงแค่สวิงที่พักเท้าไปด้านข้าง จะทำให้สามารถเข้าใกล้จุดที่เราต้องการจะเคลื่อนย้าย
- การปรับรถเข็นวีลแชร์ระดับสูง-ต่ำ เมื่อความสูงของเบาะนั่งมีระยะห่างจากพื้นไม่มาก ยิ่งทำให้ผู้ใช้งานเข็นเคลื่อนที่ได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับโรคหลอดเลือดในสมองที่มีผลกระทบทั้งแขนและขา จุดประสงค์ในการให้ฟื้นฟูคือเน้นให้อาการทรงตัว และเลือกใช้รถเข็นวีลแชร์ในการเคลื่อนย้ายไปที่ต่างๆ แทน และคุณเริ่มพิจารณารถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าแทน เพราะผู้ป่วยสามารถเดินทางได้ไกลขึ้น เปิดโลกของการดำรงชีวิตด้วยตนเอง การทำงานของรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้ามีข้อกำหนดขั้นสูงเกี่ยวกับฟังก์ชั่นการใช้งานของมอร์เตอร์ ควรสอบถามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินได้ และนั่งไม่ได้
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง แทบไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย หากนั่งรถเข็นวีลแชร์ อาจจะโน้มตัวคว่ำไปข้างหน้าทันที เราสามารถแยกการใช้ชนิดของรถเข็นวีลแชร์ปรับเอนนอนที่เหมาะสมตามลักษณะของผู้ป่วยดังต่อไปนี้
- คอ และศรีษะยังมีแรง: รถเข็นวีลแชร์ทั่วไป
- นั่ง และเอียงด้านใดด้านหนึ่ง: รถเข็นวีลแชร์ปรับเอนหลัง
- นั่งด้วยตัวเองไม่ได้ อยู่บนรถเข็นเวลานานๆ: รถเข็นวีลแชร์ปรับเอนหลัง + รถเข็นวีลแชร์ปรับเอนนอน
การประเมินสภาพร่างกายโดยละเอียดเพิ่มเติมรวมถึง:
- การขยับของส่วนสะโพกไม่สามารถทำงานได้ปกติ ส่งผลต่อกล้ามเนื้อ เพื่อพักฟื้นกล้ามเนื้อควรเลือกรถเข็นวีลแชร์เอนนอน สามารถเอนนอนหงายได้ เพื่อความยืดหยุ่นของข้อต่อสะโพก ทำให้ผ่อนคลายแรงกดทับของหน้าท้อง และง่ายต่อการเปลี่ยนผ้าอ้อม สะดวกมากยิ่งขึ้น
- การเกิดแผลกดทับจากการนั่งบนรถเข็นเวลานาน และผู้ป่วยไม่สามารถขยับสะโพกได้ รถเข็นวีลแชร์ประเภทเอนนอน จะช่วยลดแรงกดทับ แรงเสียดทานกับรถเข็นวีลแชร์ที่ก่อให้เกิดแผลกดทับ และทำให้ผู้ป่วยไม่ไถลไปข้างหน้า ช่วยลดภาระของผู้ดูแลในการดึงผู้ป่วยกลับมานั่งที่เดิม เมื่อคุณเลือกใช้รถเข็นวีลแชร์ปรับเอนนอนเป็นประจำ แผลกดทับจะค่อยๆดีขึ้น
- การที่ร่างกายไม่สามารถขยับได้ และต้องนั่งในรถเข็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายแย่ไปกว่าเดิม ดังนั้นควรเลือกรถเข็นวีลแชร์แบบที่เหมาะสม เพื่อทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย หรือลดรอยแผลกดทับ ทั้งการพักผ่อนเมื่อปรับเอนนอน ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายมากขึ้น และลดภาระของผู้ดูแลอีกด้วย
*รถเข็นวีลแชร์ไม่ใช่แค่ดีเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเหมาะสมกับผู้ใช้ด้วย เราหวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้คุณเลือกรถเข็นวีลแชร์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง*